วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีที่น่าสนใจ









<<++กำเนิดธุรกิจรถยนต์รถอิมพอร์ตเฟื่องฟู++>>

เมื่อมีผู้นิยมใช้รถมากขึ้น ร้านรวงในย่านการค้าเมืองหลวงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์จะมีการขึ้นป้ายประกาศเปิดกิจการของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่ ส่วนใหญ่เจ้าของร้านมักจะเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาหากินในเมืองไทย ซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันรถยี่ห้อใหม่ ๆ หลั่งไหลเข้ามาสนองความต้องการของลูกค้าผู้กระหาย -จี.อาร์.อองเดร.ตั้งอยู่สี่กั๊กพระยาศรี ตัวแทนจำหน่ายของอดัม โอเพล แห่งรัสเซลส์ไฮม์ -บางกอก ทรัสต์ ลิมิเทด ตั้งอยู่ยานนาวา ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งของอาร์ม สตรอง ซิดลีด์,ไซเลนท์ ไนท์ และฟอร์ด และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุก รถโดยสารของสตาร์ สโตร์ บริษัทนี้มีอู่ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรองรับรถได้ถึง 20 คัน
-กองตัวร์ ฟรองซัว ดือ เซียม ตั้งอยู่ถนนสี่พระยา จำหน่ายรถฝรั่งเศสหลายยี่ห้อ
-จอห์น เอ็ม. ดันลอป ตัวแทนจำหน่ายรถของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ของสหรัฐอเมริกา
-เอส.เอ.บี. ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง จำหน่าย รถแบลริโอต์ และมีอู่ซ่อมรถหลายยี่ห้อ
-สยาม อิมพอร์ท คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถนาปิแอร์
-ส่วนรถเปอร์โยต์มีผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวคือ สยาม ฟอเรสต์ ทรัสต์ ลิมิเทด
-วินด์เซอร์ คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถกาเกเนา มีอู่ซ่อมขนาดใหญ่เช่นกัน

ความนิยมการใช้รถทำให้เกิดธุรกิจมือสองตามมา ในปี 2450 โดยพระพิศาลสุขุมวิท โชคดีจับสลากชิงรางวัลรถยนต์ของชาวต่างชาติผู้หนึ่งเสมือนเป็นการขายทอดตลาดรถมือสอง




แผนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ ป.3

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เวลา 10 ชั่วโมง
เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เวลา 2 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
ลักษณะทางพันธุกรรมของพ่อแม่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ เราเรียกว่า

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้
2. อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมของคนในครอบครัวได้

สาระการเรียนรู้
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

กระบวนการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาว่าตัวเองมีความเหมือนหรือความต่างจากพ่อแม่อย่างไรบ้าง เช่น
- ลักกษณะของผิว
- ลักษณะของความสูง
- ลักษณะของผม
2. ครูให้นักเรียนสำรวจและสังเกตลักษณะทางพันธุกรรมของพี่น้องและตัวเอง บันทึกผล และสรุปผลการสำรวจ ลงในใบงานที่ 1 เรื่อง เหมือนใคร แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมของพี่น้องและตัวเราเองโดยยกตัวอย่างผลงานของนักเรียน มาประกอบ
4. ให้นักเรียนนำผลงานมาจัดป้ายนิเทศ
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมถ้านักเรียนรายงานผลการทำกิจกรรมในขั้นสะท้อนความคิดไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
6. ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้จาก ใบความรู้ และสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา
7. ครูให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายและเขียนเป็นแผนผังความคิด ลงในใบงานที่ 2 แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
8. ให้นักเรียนนำแผนผังความคิดมาแลกเปลี่ยนกันดู แล้วสนทนาซักถามเกี่ยวกับการเขียนแผนผังความคิด เพื่อดูว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกับของนักเรียนอย่างไรบ้าง
9. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด แล้วร่วมกันตรวจแก้ไขข้อผิด

กระบวนการวัดผลประเมินผล
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
3. สังเกตพฤติกรรมรายกลุ่ม
4. การนำเสนอผลงาน
5. การตรวจผลงาน


เครื่องมือ
1. แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
4. แบบประเมินการตรวจผลงาน
5. แบบประเมินการตรวจผลงาน


เกณฑ์การประเมิน
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80
2. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
5. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานที่ 1
2. ใบงานที่ 2
3. ใบความรู้
4. แบบฝึกหัด

ความคิดเห็นผู้บริหาร

……………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………..........................

ลงชื่อ………………………………………..
( นายธรรมชัย วงษ์รัตนไตยกูล )
ผู้บริหารสถานศึกษา

บันทึกผลหลังการสอน ………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………

ปัญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………

แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………


ลงชื่อ………………………………………..
( นางสาววีรยา เหลืองขาว )








ใบความรู้
เรื่อง ลักษณะพันธุกรรม


คนเราแต่ละคน จะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ของตนเอง โดยมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับพ่อ

และมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับแม่ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
พ่อ เป็นลูกของปู่กับย่า พ่อจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากปู่ และลักษณะบางอย่างมาจากย่า
แม่ เป็นลูกของตากับยาย แม่จึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากตา

และลักษณะบางอย่างมาจากยาย ตัวเรา เป็นลูกของพ่อกับแม่ ตัวเราจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากพ่อ และลักษณะบางอย่างมาจากแม่
สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ จะมีการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ

จากพ่อแม่ไปสู่ลูกเช่นเดียวกับคนเรา เช่น แม่ไก่จะออกลูกออกมาเป็นลูกไก (ลูกเจี๊ยบ)

ซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับตัวพ่อไก่แม่ไก่เมล็ดข้าวโพดที่ถูกนำมาปลูกจะเติบ

โตเป็นต้นข้าวโพดเหมือนกับต้นพ่อแม่
ลักษณะบางอย่างของลูกที่แตกต่างไปจากพ่อหรือแม่นั้น อาจเป็นลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดจากปู่ ย่า ตา หรือยายก็ได้ แต่ถ้าลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เหมือนลักษณะของใครในครอบครัวเลย แสดงว่าลักษณะบางอย่างที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะที่แปรผัน ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปได้

สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้โดยหน่ายพันธุกรรมนี้จะอยู่ใน ยีน (gene) ที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์
นักวิทยาศาสตร์ ผู้ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนี้ คือ เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ซึ่งเป็นนักบวชชาวออสเตรีย ได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการทดลองปลูกต้นถั่วลันเตา และสรุปเป็น กฎของเมนเดล, ไว้ดังนี้

1. ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตจะถูกควบคุมโดยยืนที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์และถ่ายทอดไปยังลูกหลานทางเซลล์สืบพันธุ์

2. การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะเป็นอิสระต่อกัน
3. ลักษณะที่ปรากฏออกมาบ่อยครั้ง เรียกว่า ลักษณะเด่น ลักษณะที่ปรากฏออกมาน้อยครั้งว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย
4. สัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อย จะมี 3 : 1 เสมอ




ใบงานที่ 1
เรื่อง เหมือนใคร

วิธีทำ

1. สำรวจลักษณะรูปร่างของตนเองเปรียบเทียบกับพ่อแม่ว่า มีส่วนเหมือนใคร
2. ขีด  ลงในตารางช่องที่ตรงกับผลสำรวจ
3. นำข้อมูลที่ได้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในชั้น

บันทึกผล
ลักษณะของฉันที่สำรวจ เหมือนพ่อ เหมือนแม่
1. ความสูง
2. ใบหน้า
3. สีผม
4. ลักยิ้ม
5. ชั้นของหนังตา …………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้
การสังเกต  การวัด  การจำแนก  การใช้ตัวเลข
การลงความคิดเห็น  การจัดข้อมูล  การทดลอง  การสรุปผล










ใบงานที่ 2
เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ชื่อ………………………………………………เลขที่…………………………………..
ชั้น……………………………………..วันที่…………………………………………….
คำชี้แจง ให้นักเรียน เขียนแผนผังความคิด สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเรียน เรื่อง
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม